วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่5การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์

การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์  การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
 1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) 
เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูง เป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุ
...อ่านเพิ่มเติม

บทที่4ระบบย่อยอาหารเเละการย่อยอาหารระดับเซลล์

ความต้องการอาหารและการได้มาซึ่งอาหารของโพรทิสต์ พืชและ สัตว์จะแตกต่งกัน พืชและโพรทิสต์บางชนิดสามารถสังเคราะห์หรือสร้างอาหารได้เอง แต่สัตว์และโพรทิสต์อีกบางชนิดไม่สามารถสร้างอาหารได้ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองเรียกว่า ออโตทรอพ (autotroph) ส่วนพวกที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เรียกว่า เฮเทอโรทรอพ (heterotroph) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1. ฮอโลทรอฟิก (holotrophic) หรือ ฮอโลโซอิก (holozoic) กินอาหารที่มีโลเลกุลใหญ่และซับซ้อน แล้วยังมีการบดให้ละเอียดและย่อยสลาย การย่อยนั้นต้องใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเป็นตัวสลาย
2. แซโพรทรอฟิก (saprotrophic) เป็นการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารพวกสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว หรือเศษอินทรีย์
...อ่านเพิ่มเติม

บทที่3เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

 สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์     เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แตกต่างกัน ทั้งรูปร่างและรูปร่าง   แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม
 และเยื่อหุ้มเซลล์ 

     นิวเคลียส      มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์     ไซโทพลาซึม      เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก ๆ หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในกระบวนการดำรงชีวิตของเซลล์  ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เช่น  น้ำตาล  โปรตีน  ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จากกิจกรรมของเซลล์ด้วย       เยื่อหุ้มเซลล์      อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม และควบคุมการลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์...อ่านเพิ่มเติม

บทที่2เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

                สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน  ออกซิเจน  ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน
                สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้
                นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสารใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ในร่างกายของคนประกอบด้วยสารหลายชนิด และสารเหล่านี้มีปริมาณที่แตกต่างกัน...อ่านเพิ่มเติม

บทที่1ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

       ชีววิทยา คือ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต รากศัพท์ของคำนี้มาจากภาษากรีก คือ ไบออส (bios) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และโลกอส (logos) ที่หมายถึง ความคิดและเหตุผลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสามารถศึกษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับใหญ่ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิตและการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน
นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์และอะตอมของธาตุต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต รวมถึง การศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้...อ่านเพิ่มเติม